วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

Blended Learning

Blended Learning

         การจัดการเรียนการสอนมีการนำเอาสารสนเทศเข้ามาใช้กันหลากหลายซึ่งเรานำมาใช้ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันดังนั้นเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติซึ่งเราเรียกว่าการผสมผสานแต่ในความหมายของการผสมผสานการเรียนรู้มีหลายแนวคิดดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มี 4 แนวคิด Driscoll(2002),
     1.  การจัดการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า(Face to Face)ร่วมกับการจัดการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ (e-Learning)
     2.  การผสมผสานทฤษฎีการสอน(Mixing Theories of Learning)
            -  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
            -  ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา(Cognitivism)
            -   ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์(Constructivism) 
          เป็นการผสมผสานระบบการเรียนรู้(Learning Systems)
     3. การผสมผสานการใช้สื่อต่างๆเพื่อการเรียนรู้ (Multimedia)
     4.  การผสมผสานกันระหว่างการเรียนการสอนและการทำงานเข้าด้วยกัน
ในที่นี้จะกล่าวถึงในแนวคิดแรก ด้านการผสมผสานกันระหว่าการเรียนแบบเผชิญหน้าและออนไลน์
สอนอย่างไรจึงจะเรียกว่า Blended Learning ซึ่งมีสัดส่วนการจัดการเรียนการสอนดังนี้
คำสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
1. Blended Learning
2. Hybrid
3. Web-Enhanced
4. Integrated
5. Multi-Method Learning or Mixed Model
6. Flexibility Learning

ข้อดี-ข้อเสีย

การเรียนแบบผสมผสานสรุป Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ความหมายและความสำคัญ
1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน
3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ
3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน
3.2 การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย

อ้างอิง : http://km.kmutt.ac.th/pg/blog/paitoon.kan/read/5168/blended-learning-
http://bunmamint10.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น